ประวัติอำเภอศรีสำโรง
อำเภอศรีสำโรงได้ตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นแห่งแรก ที่บ้านนาหลุก ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลนาขุนไกร ต่อมาจะเป็น พ.ศ. ใดยังค้นหาหลักฐานไม่พบ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านปากแก่ง ตำบลเกาะตาเลี้ยงเป็นครั้งที่ ๑ แล้วย้ายไปตั้งที่บ้านวังทอง ตำบลวังทอง เป็นครั้งที่ ๒ แล้วย้ายมาจากตำบลวังทองไปตั้งที่บ้านคลองตาล ตำบลวัดเกาะ เป็นครั้งที่ ๓ และย้ายไปตั้งที่บ้านคลองตาล ตำบลคลองตาล ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอศรีสำโรงในปัจจุบันเป็นครั้งที่ ๔
คำว่า ศรีสำโรง ซึ่งเป็นชื่ออำเภอได้ใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่ยังตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านนาหลุก บ้านปากแก่ง และบ้านวังทอง ต่อเมื่อย้ายไปตั้งที่อยู่ที่บ้านคลองตาล ตำบลวัดเกาะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอคลองตาล ตามนามบ้านและหลังจากที่ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งหลังสุด มาตั้งที่บ้านคลองตาล ตำบลคลองตาล จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่จำอำเภอคลองตาลมาใช้ชื่อเป็น ศรีสำโรง ตามเดิม เพื่อรักษาประวัติดั้งเดิมไว้
คำว่า ศรีสำโรง ไม่ใช่ชื่อหมู่บ้านของตำบลตามที่ทั่วไปนิยมใช้กัน เพราะปรากฏจากปากคำของคนเฒ่าคนแก่ได้เล่าลือสืบต่อๆ กันมา ศรีสำโรง ซึ่งเป็นชื่ออำเภอแต่เดิมมานั้นบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านนาหลุกเมื่อครั้งตั้งอยู่นั้นมีต้นสำโรงอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมาก ผู้ก่อตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งนั้นคงจะเห็นเป็นสัญญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ จึงได้ขอใช้ชื่ออำเภอโดยอาศัยชื่อของต้นไม้ดังกล่าวเป็นหลัก และเพื่อที่จะให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง จึงได้เติมคำว่า ศรี เข้าไว้ข้างหน้าอีกคำหนึ่ง
ต้นสำโรง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia Foetida L.
ชื่อวงค์ Sterculiaceae
ชื่อสามัญ Bastard poom , Pinari
ชื่อพื้นเมือง จำมะโฮง , มะโรง , มะโหรง , โหมรง ,โหมโลง
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ
เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน
เรียงเวียนจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย5-7 ใบ รูปรี
หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 6 ซม.ยาว 10 ซม.- 30ซม.
ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง
เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบยาว 13-20 ซม.
ก้านใบย่อยยาว3-5 ซม.
ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อ แบบช่อแยก
แบบช่อแยก แขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ ปลายกิ่งช่อดอกยาว 10-30ซม.
กลีบเลี้ยง5กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 ซม.
ผล ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล
ผิวมันและเกลี้ยงเมื่อ แก่แตกเป็นสองซีกกว้าง6-9ซม. ยาว8-10 ซม.
เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง .3ซม.ยาว 2.5ซม.
ระยะการเป็นดอกผล ดอก พย.-ธค. , ผล มค.-เมย.
นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ดอกเด่นและผลเด่น แต่ดอกมีกลิ่นเหม็นมาก
ควรปลูกให้ไกลที่พักอาศัย และทางเดินในสวน และควรอยู่เหนือลม
ประโยชน์ ฝักสมานแผลในกระเพาะ เปลือกละลายเสมหะ
ไม้ใช้ทำน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ
น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ
ข้อมูลจากหนังสือ ไม้ป่ายืนต้นของไทย
โดย เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน
ข้อมูลด้านอื่นๆของ อำเภอศรีสำโรง @วิกิพีเดีย