ReadyPlanet.com
dot
Information
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletกระบวนการผลิต
bulletความภาคภูมิใจ
bulletกลอย
bulletแผนที่ร้าน
bulletBrochure
bulletการรักษาภาวะเป็นพิษ
bulletรายชื่อผู้จัดจำหน่าย
bulletใบทะเบียนพาณิชย์
dot
Shopping Online
dot
bulletสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
bulletแจ้งชำระเงินค่าสินค้า
dot
Travel Guide
dot
bulletพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
bulletประวัติหลวงปู่เอม
bulletประวัติอำเภอศรีสำโรง
bulletข้อมูลอ้างอิง จ.สุโขทัย
bulletเมืองบางขลัง
bulletท่องเที่ยวสุโขทัย
bulletภาพภ่ายจังหวัดสุโขทัย
bulletภาพถ่ายประวัติศาสตร์
bulletงานลอยกระทง จ.สุโขทัย
bulletอุทยานแห่งชาติรามคำแหง
bulletอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
bulletวนอุทยานถ้ำลม-ถ้ำวัง
bulletBangkok Airways
bulletHotels
bulletพิพิธภัณฑ์สวรรควรนายก
bulletพิพิธภัณฑ์รามคำแหง
bulletพยากรณ์อากาศ
bulletที่กิน ในจ.สุโขทัย
bulletร้านอาหารแนะนำ
bulletแผนที่ จ.สุโขทัย
bulletแผนที่ทางหลวง
dot
Photo Gallery
dot
bulleteJournal Gallery
bullet360* WHTour
bulletPbase Gallery
bulletMcGallery
dot
Administration
dot
bulletDBDMart
bulletPost Mart
bulletSCBEasy
bulletKTB Online
bulletBBL iBanking
bulletReadyPlanet
bulletTrack & Trace
bulletPostage Rates
bulletTARAD.com
bulletPaySbuy
bulletClassifiedThai
bulletShinystat
bulletจิตราบรรจุภัณฑ์
bulletSMSMKT
dot
Newsletter

dot




เมืองบางขลัง
บางขลัง...จุดกำเนิดประเทศไทย (ปฐมบทแห่งการสร้างบ้านแปลงเมือง)
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:01 น.
โดย ส.ต.ท.วิทยา เกษรพรหม ปลัด อบต.เมืองบางขลัง สุโขทัย

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ คุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) คุณโสมสุดา ลียะวนิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร คุณธราพงษ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 6 มาเยี่ยมเยือนเมืองบางขลัง

เมื่อเอ่ยชื่อถึง สุโขทัยธานี อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ระบือนาม น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะประวัติศาสตร์ชาติไทยได้นำเสนอถึงความรุ่งโรจน์ ความเรืองรองแห่งยุคสมัยภายใต้กษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ อันจะร่วมไปถึงเมืองศรีสัชนาลัย ทำให้ชนชาติไทยตระหนักและรับทราบถึงเมืองเหล่านี้และเมืองอื่นๆ ตามลำดับ

เมื่อกล่าวถึง เมืองบางขลัง ตำบลเล็กๆ ตำบลหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย น้อยคนนักที่จะรู้จัก รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณแห่งนี้ เมืองที่ถือกำเนิดขึ้นมาร่วมสมัยกับเมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าศรีสัชนาลัย เมืองที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างกระท่อนกระแท่นแต่ก็ทรงไว้ซึ่งความสำคัญ

เนื่องด้วยว่า เมืองบางขลัง เป็นจุดกำเนิดแห่งความเป็นอิสระเสรีภาพของชาวไทยที่หลุดพ้นจากอำนาจและอิทธิพลของขอมจากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม ด้านที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 24 สรุปได้ว่า การที่พ่อขุนบางกลางท่าวและพ่อขุนผาเมืองยกประชุมพลหรือรวมพลกันที่เมืองบางขลังนั้นทำให้ขอมสบาดโขลญลำพงต้องถอยทัพจากการยึดครองกรุงสุโขทัยและเป็นเหตุให้มีการสถาปนาพ่อขุนบางกลางท่าวเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงของกรุงสุโขทัย

เมืองบางขลัง เป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา ในด้านวัฒนธรรมและพุทธศาสนา โดยพระสุมนเถระ ภิกษุมณฑลเชลียงนำพระธาตุที่ฝังใต้กอดอกเข็มเมืองบางขลังไปถวายพระเจ้ากือนา เมื่อ พ.ศ.1913 พระธาตุส่วนหนึ่งคงบรรจุอยู่ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

เมืองบางขลัง มีความสำคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดี กล่าวคือ สมเด็จพระศรีศรัทธาราชจุฬามณีฯ พระราชนัดดาของพ่อขุนผาเมือง สมภพที่เมืองสระหลวง-สองแคว เสด็จออกบวชแล้วจาริกแสวงบุญไปยังปูชนียสถานต่างๆ โดยเริ่มจากกรุงสุโขทัยผ่านเมืองบางขลังจนถึงเมืองศรีสัชนาลัย บนเส้นทางที่โบราณเชื่อกันว่าเป็น ถนนพระร่วง หรือ ท่อปู่พญาร่วง

เมืองบางขลัง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2450 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสเมืองบางขลังตามเส้นทางถนนพระร่วง มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมของการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบเล่มแรกของชาวไทย

ณ ที่เมืองบางขลังได้จัดให้มีการเสวนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองบางขลัง 3 ครั้ง โดยนายสุวิทย์ ทองสงค์ นายก อบต.เมืองบางขลัง ร่วมกับบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด, บริษัท มติชน จำกัด, นายประจวบ คำบุญรัตน์ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และ รศ.ดร.มังกร ทองสุขดี ประธานชมรมเรารักเมืองพระร่วง/ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัยและภาคเหนือ เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2539, วันที่ 27-28 ตุลาคม 2549, วันที่ 1-2 เมษายน 2550 ตามลำดับ

จากการเสวนาทั้งสามครั้งสรุปได้ว่า

ไม่มีเมืองบางขลัง ไม่มีพระธาตุดอยสุเทพ

ไม่มีเมืองบางขลัง ไม่มีกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์

และ ไม่มีเมืองบางขลัง ไม่มีประเทศไทย

คุณขรรค์ชัย บุนปาน ได้มาเยือนเมืองบางขลังและได้เขียนถึงเมืองบางขลังในมติชนสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2549 ฉบับที่ 1371 ไว้ว่า ...จะบูรณะปฏิรูป ปฏิสังขรณ์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยให้คืนฟื้นมาแค่ไหน เมืองบางขลังก็ควรติดตามมาด้วย ให้เหมือนต้นคอโดนจมูกหายใจรดนั่นเที่ยวจึงควรแก่การณ์... เมืองบางขลังได้ชื่อว่าความเป็นไทยบนแผ่นดินไทยครั้งแรกที่ไม่ต้องประกาศ...วันนี้ที่เหลือของเมืองบางขลังในรูปนามที่ปรากฏ คือ วัดโบสถ์ วัดใหญ่ หย่อมเจดีย์เรียงราย ถนนพระร่วง และผู้คนท้องถิ่นที่น่าเคารพรัก...

ถนนพระร่วง 150 กิโลเมตรจากกำแพงเพชร-สุโขทัย-บางขลัง-ศรีสัชนาลัย พื้นผิวไหล่ทางกว้าง 45 เมตร จะเป็นถนนสายดาวดึงส์สู่ดุสิตเป็นแห่งแรกในโลกถ้าได้รับการบูรณะและยินยอมพร้อมใจจากประชาชนขึ้นมา...

เมืองบางขลังในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เชี่ยวกราก ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนเมืองบางขลังเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้นมากมาย

นายสุวิทย์ ทองสงค์ นายก อบต.เมืองบางขลังจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์เป็นแนวทางในการพัฒนาไว้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส พัฒนาแหล่งน้ำ ป้องปรามยาเสพติด พิชิตความยากจน สร้างคนคุณภาพ ปวงชนทราบประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สิ่งที่มุ่งเน้นคือ รณรงค์ ส่งเสริมให้ประชาชนยึดหลักคำสอนของในหลวงด้วยเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาคนในทุกๆ ด้าน โดยมีหลักการบริหารงานยึดแนวพระราชดำรัสของในหลวง เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา

นายธารา ขุมเพ็ชร ประธานสภา อบต.ในฐานะตัวแทนของสมาชิกสภา อบต.ยืนยันถึงบทบาทว่า สมาชิกทุกท่านต่างตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน พร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม รับฟังความคิดเห็นและให้เกียรติทุกคน ให้ความสำคัญกับทุกปัญหา พร้อมที่จะพัฒนาตนเองเสมอ กล้าแสดงออก กล้าคิดอย่างมีเหตุผล ยอมรับมติเสียงส่วนใหญ่

เมืองบางขลังในอนาคต อบต.จะเข้าไปดูแล ส่งเสริม พัฒนาทุกด้าน ทุกขั้นตอน ตั้งแต่อยู่ในท้องจนถึงเชิงตะกอน กระทำทุกวิธีการให้ประชาชนมีความสุข ดำรงตนอยู่ในความพอเพียง จัดตั้งอาสาสมัครองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง (อส.อบต.) จากตัวแทนคุ้มของแต่ละคุ้มในหมู่บ้านเพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข ไร้ทุกข์ ไร้โรคภัย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบคุ้มและชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาโบราณสถานวัดโบสถ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การสางถนนพระร่วงให้สามารถปั่นจักรยานชมท้องทุ่งเมืองโบราณ มีระบำเทวะวารีศรีเมืองบางขลัง การแสดงแสงสีเสียงเมืองบางขลัง จัดทำหนังสือประวัติศาสตร์เมืองบางขลังฉบับวิชาการและฉบับการ์ตูน หลักสูตรท้องถิ่นเมืองบางขลังสำหรับใช้เรียนในทุกระดับชั้น บทเพลงประจำตำบล

ถึงแม้นว่าจะไม่มีใครมาสนใจ ใส่ใจหรือกล่าวขานถึงเมืองบางขลัง เมืองที่ถูกหลงลืมแห่งนี้มากนัก แต่ทว่าเมืองบางขลังยังคงยืนมั่นคงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ คงอยู่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่รอการกล่าวขานถึงในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไป

 
ข้อมูลเพิ่มเติม :
 http://www.launsin200.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=417382&Ntype=5

 http://archaeology.thai-archaeology.info/index.php?option=com_content&task=view&id=27&Itemid=50